ธรรมะต้องมีการปฏิบัติจึงจะเห็นผล
เป็นการฝึกปฏิบัติเพื่อพ้นไปจากการครอบงำของธรรมชาตินั่นเอง...แนะนำวิธีปฏิบัติดังนี้...
1.ฝึกการว่างจากการสัมผัส
1.1ว่างจากการสัมผัสทางลิ้น (ฝึกการไม่ลิ้มรสอาหาร,วางเฉยจากการกระทบ)
เวลารับประทานอาหาร ให้สังเกตอาการทางความรู้สึกที่เกิดการปรุงแต่งกับรสอาหาร
ฝึกสังเกตบ่อยๆจะเห็นอาการที่เกิดการยึดมั่น สังเกตการเกิดเป็นความรู้สึกอารมณ์ให้รั้งความรู้สึกออกจากรสอาหาร หัดวางเฉยฝึกบ่อยๆ(หมายถึงบางครั้งบางคราวก็ได้) เพื่อให้เห็นการยึดมั่นทางความรู้สึก
***ฝึกให้มีความรู้สึกที่ว่างจากการสัมผัสทางอายตนะ6..หู..ตา..จมูก..ลิ้น..กาย..ใจ...คือการไม่เกิดปฏิกิริยาต่อสิ่งที่มากระทบทวารทั้งหก...ว่างจากการสัมผัส***ปล่อยวางการยึดมั่นดึงดูดจากสิ่งต่างๆจึงจะเกิดความเป็นอิสสระ
ฝึกสังเกตบ่อยๆจะเห็นอาการที่เกิดการยึดมั่น สังเกตการเกิดเป็นความรู้สึกอารมณ์ให้รั้งความรู้สึกออกจากรสอาหาร หัดวางเฉยฝึกบ่อยๆ(หมายถึงบางครั้งบางคราวก็ได้) เพื่อให้เห็นการยึดมั่นทางความรู้สึก
***ฝึกให้มีความรู้สึกที่ว่างจากการสัมผัสทางอายตนะ6..หู..ตา..จมูก..ลิ้น..กาย..ใจ...คือการไม่เกิดปฏิกิริยาต่อสิ่งที่มากระทบทวารทั้งหก...ว่างจากการสัมผัส***ปล่อยวางการยึดมั่นดึงดูดจากสิ่งต่างๆจึงจะเกิดความเป็นอิสสระ
1.2ว่างจากการสัมผัสทางกาย (การไม่ยึดมั่นในกาย,กายเป็นเพียงที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น)
ให้ใช้ความรู้สึกพิจารณากาย สมมุติว่าเราอาศัยกายอยู่ชั่วคราวเท่านั้น ความเป็นกายก็มีอยู่อย่างที่เราเห็นนี่เอง คือความเป็นหนัง,กระดูก,เลือด,เนื้อ ฯลฯ แต่เราเข้าไปยึดมั่นว่าเป็นตัวเรา แท้จริงเราอาศัยอยู่ชั่วคราวเท่านั้น วันหนึ่งมันก็จะสลายไปตามอายุขัยหรือตามสภาพของมัน ให้สังเกตอาการที่คลายออกจากการยึดมั่น ให้จำความรู้สึกนั้นไว้รักษาความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นไว้ให้นาน และทำให้เกิดขึ้นบ่อยๆ เราจะมีความรู้สึกว่างจากการยึดมั่นในกาย
ให้ใช้ความรู้สึกสังเกตอิริยาบทของกาย ปลุกให้กายตื่นอยู่ให้ความรู้สึกแผ่ซ่านอยู่ในกายรับรู้อาการของมันได้ในทุกซอกมุมว่ามันกำลังมีอาการอยู่อย่างใด เช่นเดียวกับการปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ ฝึกให้ความรู้สึกอยู่ในกาย รับรู้ได้ถึงอาการของมัน ซึ่งเราอาจจะปฏิบัติในขณะทำงานอยู่ก็ได้ ให้มีความรู้สึกอยู่ในการเคลื่อนไหวตลอด(ฝึกเป็นระยะจะเกิดความเคยชิน)
พิจารณากายในความเป็นส่วนที่ประกอบกันอยู่ อาจจะตั้งคำถามขึ้นมาก็ได้ว่านี่คือตัวเราหรือมันคืออะไร?,มันทำงานได้อย่างไร เพื่อให้เห็นมุมมองที่แตกต่างจากที่เคยเป็นอยู่ อาจจะพิจารณาให้เห็นมันแยกเป็นส่วนๆว่าไม่มีความเป็นตัวเราอยู่ตรงไหนนอกจากความรู้สึกที่เกิดอยู่เท่านั้น ซึ่งคือการยึดมั่นปรุงแต่งขึ้นมาทางความรู้สึกนั่นเอง
1.3ว่างจากการสัมผัสทางใจ (ทำความรู้สึกให้หายไป,ไม่มีอยู่,มีแต่กายทำงานอยู่เท่านั้น)
พิจารณาในความละเอียดขึ้น คือพิจารณาความรู้สึกที่เกิดอยู่ มันปรุงแต่งความรู้สึกอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดเป็นภาพทางความรู้สึกอยู่(ภาพเชิงซ้อน) มันแสดงความเป็นตัวเรา การไม่สัมผัสมันอยู่คือการทำให้มันหายไป ไม่มีความรู้สึกเกิดอยู่แต่ให้มันว่างอยู่ ให้รู้สึกตัวในความรู้สึกที่เกิดอยู่นั้นเสมอ จะเห็นว่ามันมีการดิ้นรนอยู่ ทำให้มันหยุดและทำให้มันหายไปรั้งอาการนั้นไว้ให้ได้นานๆมันจึงจะหยุดดิ้นรน ฝึกให้มันหยุดดิ้นรนให้เป็นความรู้สึกที่ตื่นอยู่ , ทำความรู้สึกให้เป็นปัจจุบันเสมอ ฝึกอยู่เสมอ ฝึกบ่อยๆจึงจะเกิดเป็นความเคยชินและทำได้ง่ายขึ้นนานขึ้น จนรู้สึกว่าถ้ามันดิ้นรนเราจะเกิดอาการอึดอัด
ทำความรู้สึกให้หายไป ให้รู้สึกว่ามีแต่กายทำงานอยู่เท่านั้น (ความจริงมันไม่ได้หายไปไหนเพียงแต่มันไม่ปรุงแต่งกับกายอยู่เท่านั้น เราจึงเกิดความรู้สึกว่ามันไม่มีอยู่ การทำให้มันหายไปคือการหยุดปรุงแต่งนั่นเอง การฝึกขั้นนี้อาจจะเกิดความเครียดเกิดขึ้นได้เพราะความไม่เคยชินจึงให้ฝึกที่ละน้อยฝึกบ่อยๆมันก็จะเกิดเป็นความเคยชินเป็นปกติ ให้ฝึกร่วมกับข้อ1.2)
ให้ใช้ความรู้สึกพิจารณากาย สมมุติว่าเราอาศัยกายอยู่ชั่วคราวเท่านั้น ความเป็นกายก็มีอยู่อย่างที่เราเห็นนี่เอง คือความเป็นหนัง,กระดูก,เลือด,เนื้อ ฯลฯ แต่เราเข้าไปยึดมั่นว่าเป็นตัวเรา แท้จริงเราอาศัยอยู่ชั่วคราวเท่านั้น วันหนึ่งมันก็จะสลายไปตามอายุขัยหรือตามสภาพของมัน ให้สังเกตอาการที่คลายออกจากการยึดมั่น ให้จำความรู้สึกนั้นไว้รักษาความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นไว้ให้นาน และทำให้เกิดขึ้นบ่อยๆ เราจะมีความรู้สึกว่างจากการยึดมั่นในกาย
ให้ใช้ความรู้สึกสังเกตอิริยาบทของกาย ปลุกให้กายตื่นอยู่ให้ความรู้สึกแผ่ซ่านอยู่ในกายรับรู้อาการของมันได้ในทุกซอกมุมว่ามันกำลังมีอาการอยู่อย่างใด เช่นเดียวกับการปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ ฝึกให้ความรู้สึกอยู่ในกาย รับรู้ได้ถึงอาการของมัน ซึ่งเราอาจจะปฏิบัติในขณะทำงานอยู่ก็ได้ ให้มีความรู้สึกอยู่ในการเคลื่อนไหวตลอด(ฝึกเป็นระยะจะเกิดความเคยชิน)
พิจารณากายในความเป็นส่วนที่ประกอบกันอยู่ อาจจะตั้งคำถามขึ้นมาก็ได้ว่านี่คือตัวเราหรือมันคืออะไร?,มันทำงานได้อย่างไร เพื่อให้เห็นมุมมองที่แตกต่างจากที่เคยเป็นอยู่ อาจจะพิจารณาให้เห็นมันแยกเป็นส่วนๆว่าไม่มีความเป็นตัวเราอยู่ตรงไหนนอกจากความรู้สึกที่เกิดอยู่เท่านั้น ซึ่งคือการยึดมั่นปรุงแต่งขึ้นมาทางความรู้สึกนั่นเอง
1.3ว่างจากการสัมผัสทางใจ (ทำความรู้สึกให้หายไป,ไม่มีอยู่,มีแต่กายทำงานอยู่เท่านั้น)
พิจารณาในความละเอียดขึ้น คือพิจารณาความรู้สึกที่เกิดอยู่ มันปรุงแต่งความรู้สึกอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดเป็นภาพทางความรู้สึกอยู่(ภาพเชิงซ้อน) มันแสดงความเป็นตัวเรา การไม่สัมผัสมันอยู่คือการทำให้มันหายไป ไม่มีความรู้สึกเกิดอยู่แต่ให้มันว่างอยู่ ให้รู้สึกตัวในความรู้สึกที่เกิดอยู่นั้นเสมอ จะเห็นว่ามันมีการดิ้นรนอยู่ ทำให้มันหยุดและทำให้มันหายไปรั้งอาการนั้นไว้ให้ได้นานๆมันจึงจะหยุดดิ้นรน ฝึกให้มันหยุดดิ้นรนให้เป็นความรู้สึกที่ตื่นอยู่ , ทำความรู้สึกให้เป็นปัจจุบันเสมอ ฝึกอยู่เสมอ ฝึกบ่อยๆจึงจะเกิดเป็นความเคยชินและทำได้ง่ายขึ้นนานขึ้น จนรู้สึกว่าถ้ามันดิ้นรนเราจะเกิดอาการอึดอัด
ทำความรู้สึกให้หายไป ให้รู้สึกว่ามีแต่กายทำงานอยู่เท่านั้น (ความจริงมันไม่ได้หายไปไหนเพียงแต่มันไม่ปรุงแต่งกับกายอยู่เท่านั้น เราจึงเกิดความรู้สึกว่ามันไม่มีอยู่ การทำให้มันหายไปคือการหยุดปรุงแต่งนั่นเอง การฝึกขั้นนี้อาจจะเกิดความเครียดเกิดขึ้นได้เพราะความไม่เคยชินจึงให้ฝึกที่ละน้อยฝึกบ่อยๆมันก็จะเกิดเป็นความเคยชินเป็นปกติ ให้ฝึกร่วมกับข้อ1.2)
2.จิตหรือความรู้สึกเป็น"อนัตตา"
อนัตตาคือความไม่มีตัวตน,ความไม่มีอยู่จริง,แต่สิ่งที่เกิดอยู่คือการปรุงแต่งทางความรู้สึก
จิตเป็นพลังงานหรือธาตุธรรมชาติ(ธาตุรู้) การที่เรามองมันว่ามันเป็นพลังงานมันก็จะแสดงผลว่ามันเป็นพลังงานเท่านั้นมันจะปรุงแต่งตามความรู้สึกของเราที่เกิดอยู่ ปกติเราจะรู้สึกว่ามันเป็น"ตัวเรา" ซึ่งเป็นการปรุงแต่งยึดมั่นขึ้นมาขึ้นมาทางความรู้สึกนั่นเองดังนั้นความรู้สึกของเราจึงบอกสถานะทางการปรุงแต่งว่ากำลังปรุงแต่งเป็นอะไรอยู่เราก็จะรู้สึกเป็นอย่างนั้น การมองเห็นในความเป็น "อนัตตา" มันจึงจะสลายการปรุงแต่งที่เกิดอยู่นั้น มุมมองในจุดนี้จึงมีความสำคัญที่จะทำให้เราเห็นการทำงานของธรรมชาติที่เกิดเป็นตัวเรา เราจึงจะรู้สึกได้ว่าแท้จริงที่เราเห็นว่ามันเป็น "ตัวเรา"นั้น มันปรุงแต่งขึ้นมาทางความรู้สึกนั่นเอง มันเป็นโดยสัญชาตญาณคือมีการปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนมุมมองเราจึงจะเห็นการทำงานของมันในแต่ละขั้นตอน
ความรู้สึกของเราที่เกิดอยู่ในแต่ละขณะจะแสดงผลทางการปรุงแต่งอยู่ เพราะการปรุงแต่งของมันจึงเกิดเป็นความรู้สึกของเรา มีความจำให้ข้อมูล การมองในความเป็นอนัตตา คือความไม่มีอยู่ มันก็จะแสดงผลของมันออกมาทางความรู้สึกของเรา ดังนั้นเราจึงต้องป้อนข้อมูลการปรุงแต่งให้มัน คือการมองว่าจิตไม่มีอยู่,ความเป็นตัวเราไม่มีอยู่จริง แต่มันเกิดขึ้นจากการปรุงแต่งเท่านั้นคือมีความเป็นอุปาทานเกิดขึ้น ให้จำความรู้สึกที่เกิดขึ้นว่ามันเป็นความว่างเกิดขึ้น(การไม่ปรุงแต่ง) ตัวเรามีความเป็นพลังงานธรรมชาติปรุงแต่งกันอยู่เท่านั้น ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจึงเป็นเสมือนภาพที่มันปรุงแต่งอยู่เท่านั้น ถ้าเราสามารถจับความรู้สึกแบบนี้ได้เราก็จะเกิดเป็นความรู้คือตัวเราเป็นการปรุงแต่งของพลังงาน(จิต) ความรู้สึกหรือจิตนั่นเองปรุงแต่งให้เกิดเป็นภาพต่างๆอยู่(เป็นความรู้สึก) เราเข้าไปยึดมั่นมันจึงเกิดเป็นปฏิกิริยาขึ้นมา
เราจึงปล่อยความรู้สึกของเราให้มันว่างอยู่(ความรู้สึกหายไป) มองในความเป็น "อนัตตา"ของมันอยู่เสมอมันจะไม่เกิดการปรุงแต่งขึ้นมา เราจึงจะเป็นอิสระจากความรู้สึกของเราได้เพราะมันเป็นภาพจากการปรุงแต่งเท่านั้น(ภาพเชิงซ้อน)
3.การมีชีวิตอยู่ในความว่าง
ฝึกอยู่ในความรู้สึกที่ว่างอยู่เสมอมีสมาธิในขณะลืมตาคือว่างจากการสัมผัสต่างๆอยู่(ความรู้สึกที่เป็นปัจจุบัน)มีเพียงกายปรากฏอยู่เห็นในความเป็นธรรมชาติของตนเอง จากการฝึกดังกล่าวจึงจะเกิดผลคือหยุดการปรุงแต่งทางความรู้สึกทำความรู้สึกให้หยุดอยู่(การไม่มีความรู้สึก)ความว่างจึงจะเกิดขึ้น
และเห็นความจริงของการทำงานของธรรมชาติที่ทำให้เกิดเป็น "ตัวเรา" ให้ฝึกมองมันในความเป็นธาตุธรรมชาติปรุงแต่งกันอยู่เท่านั้น สมมุติเอาก็ได้เพื่อไม่ให้ความรู้สึกของเรามันค้าน
ถ้าความรู้สึกของเราไม่ต่อต้านมันก็จะมองเห็นอย่างนั้นได้จริง ซึ่งจะเรียกว่าเป็นอุบายในการมองเห็นตัวเองในต่างมุมซึ่งเป็นการเห็นความจริงของมันคือมันเป็นการทำงานของธรรมชาตินั่นเอง ผลที่เกิดขึ้นคือการพ้นไปจากการครอบงำของความเป็นธรรมชาติ มันจึงเกิดประโยชน์คือการไม่หลงอยู่ในความเป็นธรรมชาติอยู่นั่นเอง
และให้ฝึกอยู่ในสภาวะที่ไม่ปรุงแต่งทางความรู้สึกนั้นอยู่เสมอมันก็จะเกิดเป็นความว่าง ความว่างจึงเป็นสภาวะที่เราจะต้องทำให้เกิดขึ้นได้จริง...
..เป็นสภาวะที่เป็นปัจจุบันให้พอใจอยู่ในสภาวะที่เป็นปัจจุบันนี้***การมีธรรมะอยู่ในใจ มีจิตใจที่สวยสดงดงามจึงจะพ้นไปจากความรู้สึกที่เศร้าหมอง.....มันจึงเป็นการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นเหตุผลที่สมบูรณ์...
......เพราะความจริงมันเป็นการทำงานของธาตุทั้งสี่อยู่นั่นเองการยึดมั่นว่าเป็นตัวเราจึงเป็นการยึดเอาธรรมชาติมาเป็นตนเองจึงต้องมีสติรับรู้ความจริงนี้ได้อยู่เสมอ การอยู่กับความจริงความเป็นเหตุผลจึงเกิดขึ้น.......
......เพราะความจริงมันเป็นการทำงานของธาตุทั้งสี่อยู่นั่นเองการยึดมั่นว่าเป็นตัวเราจึงเป็นการยึดเอาธรรมชาติมาเป็นตนเองจึงต้องมีสติรับรู้ความจริงนี้ได้อยู่เสมอ การอยู่กับความจริงความเป็นเหตุผลจึงเกิดขึ้น.......
......มันจึงเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจเพื่อการเข้าใจความเป็นธรรมช าติของตนเองได้..........
สรุปการปฏิบัติ***หยุดการทำงานทางความรู้สึกให้มีแต่กายทำงานอยู่มันจึงเกิดเป็น "ความว่าง"จะเรียกว่าการหยุดความรู้สึกเป็นอุบายทำให้ความว่างเกิดขึ้นได้นั่นเอง...ต้องเป็นความรู้สึกให้มีความนุ่มนวล(มีธรรมะเกิดอยู่)จึงจะเกิดเป็น...ความว่าง.
แนะนำหนังสือ......
"ทางวิเวก : ทางแห่งการหลุดพ้นจากวังวนของความทุกข์ทั้งมวล"
"ทางวิเวก : ทางแห่งการหลุดพ้นจากวังวนของความทุกข์ทั้งมวล"
การหาเหตุผลเพื่อชีวิตที่ดีกว่า การมีชีวิตอย่างมีสาระจึงพบความจริงของชีวิตว่ามันคือ
การทำงานของธรรมชาติเท่านั้น...ที่เป็นอยู่จึงเป็นความหลงในความเป็นธรรมชาตินั่นเอง.
จึงเป็นสิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจ จึงเห็นความเป็น "สัจจธรรม"เกิดขึ้น
.....มีจำหน่ายที่ร้านนายอินทร์....ชนาด432หน้า 295.00บาท
(สั่งซื้อทางอี-เมล์ amarasinn@yahoo.co.th ราคา190บาทพร้อมค่าส่งในประเทศ)
แถมไฟล์หนังสือ "ดวงดาว,มนุษย์และเหตุการณ์ทางสังคม" หนังสือวิเคราะห์โหราศาสตร์ในความเป็นศาสตร์ธรรมชาติชีวิตของมนุษย์เป็นกลุ่มพลังงานมันจึงมีวิถีคือสิ่งที่เรารู้จักในนาม "ดวงชะตา"นั่นเอง
อ่านประกอบที่...
(การปฏิบัติธรรมเป็นการเข้าไปอยู่ในอีกมิติหนึ่งทางความรู้สึก ที่จะทำให้ความเห้นของเราเปลี่ยนไปจากเดิมจึงเกิด "สภาวะใหม่" คือการมี"ดวงตาเห็นธรรม" เห็นความจริงทางธรรมชาติ เห็นความหลงของตนเอง....
การปฏิบัติธรรมจึงเป็นเข้าถึง...มิติทางความรู้สึกที่พ้นไปจากสัญชาตญาณทางธรรมชาตินั่นเอง...การจับประเด็นนี้ได้จะทำให้เกิดเป็นความเข้าใจ...จึงเป็น"อกาลิโก"เป็น"เอหิปัสสิโก"...เป็นการพัฒนาตนออกไปจากวังวนของธรรมชาติที่ครอบงำเราอยู่มันจึงมีความเป็นสาระ...มีเหตุผลเกิดขึ้น เป็นความรู้ที่ต้อง...สัมผัสด้วยใจ....