โดย ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด | 9 ธันวาคม 2552 21:42 น. |
US takes hunt for al-Qaeda to Pakistan
By Syed Saleem Shahzad
04/12/2009
ถึง แม้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศเพิ่มทหาร 30,000 คนเข้าไปในอัฟกานิสถาน ทว่าจุดเน้นที่แท้จริงในนโยบายใหม่ว่าด้วยอัฟกานิสถานของสหรัฐฯกลับไม่ใช่ อยู่ในประเทศนั้น หากแต่ข้ามชายแดนเข้าไปในปากีสถาน นี่เป็นคำบอกเล่าของมือติดต่อประสานการเจรจาผู้หนึ่ง ซึ่งคุ้นเคยเป็นอันดีกับการเจรจากันของสหรัฐฯและพวกหัวรุนแรงชาวอัฟกัน ทั้งนี้จุดมุ่งหมายของสหรัฐฯในตอนนี้นั้น จะมุ่งเน้นหนักรวมศูนย์ไปที่กลุ่มอัลกออิดะห์ และทันทีที่กลุ่มดังกล่าวนี้อ่อนกำลังถึงขั้นร่อแร่เจียนตาย วอชิงตันก็เชื่อว่าการเจรจาทำความตกลงกันในอัฟกานิสถานย่อมจะบังเกิดขึ้นได้
อิสลามาบัด – ถึงแม้ว่าสหรัฐฯตัดสินใจเพิ่มกำลังทหารอีก 30,000 คนเข้าไปในอัฟกานิสถาน ดังที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ระบุเอาไว้ในปาฐกถาแจกแจงนโยบายของเขาเมื่อวันอังคาร(1) แต่ในขั้นตอนต่อไปของสงครามคราวนี้ ด้านหลักเลยจะมุ่งไปที่การสู้รบกับอัลกออิดะห์ในพื้นที่ชาวชนเผ่าของ ปากีสถาน ขณะที่ความพยายามทั้งหลายทั้งปวงในอัฟกานิสถานจะเน้นไปที่การหาทางทำความ ตกลงกันอย่างสันติ เพื่อแผ้วถางทางให้อเมริกันสามารถถอนตัวออกไปแบบไม่เสียหน้า
นี่เป็นทัศนะของ ดาอุด อาเบดี (Daoud Abedi) 1 ใน 2 มือติดต่อประสานการเจรจาคนสำคัญที่สุดซึ่งทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างสหรัฐฯ กับขบวนการต่อต้านแห่งชาติของชาวอัฟกัน (คนกลางสำคัญที่สุดอีกผู้หนึ่งคือ มุลลาร์ ซาอีฟ Mullah Zaeef) ผู้ซึ่งบทบาทของเขาได้รับการรายงานเป็นครั้งแรกโดยเอเชียไทมส์ออนไลน์ (ดูเรื่อง Holbrooke reaches out to Hekmatyar April 10, 2009)
วอชิงตันเป็นฝ่ายริเริ่มการสานสนทนากับ กุลบุดดิน เฮกมัตยาร์ (Gulbuddin Hekmatyar) นักรบมุญาฮิดีนผู้ผ่านศึกโชกโชน และปัจจุบันเป็นผู้นำขององค์การ เฮซบ์-ไอ-อิสลามี (Hezb-i-Islami Afghanistan หรือ HIA) โดยติดต่อผ่านทางอาเบดี ซึ่งเคยเป็นผู้ช่วยของเฮกมัตยาร์มายาวนาน อาเบดีนั้นเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายอัฟกัน เขาพำนักอยู่ในเมืองลอสแองเจลิส เป็นทั้งนักธุรกิจและนักสังคมสงเคราะห์คนสำคัญ ตลอดจนยังเคยเป็นตัวแทนของ HIA อีกด้วย
เขาเชื่อว่าการเพิ่มกำลังทหารของโอบามาคราวนี้ คือจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์การถอนตัว ซึ่งจะนำสันติภาพมาสู่อัฟกานิสถาน ด้วยการผลักดันสงครามเข้าไปในพื้นที่ชนเผ่าของปากีสถาน โดยจุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของสหรัฐฯจะอยู่ที่การเล่นงานอัลกออิดะห์ ว่าไปแล้ววัตถุประสงค์ของการรุกรานอัฟกานิสถานในปี 2001 นั้น ก็เพื่อโค่นล้มระบอบปกครองตอลิบาน แต่ก็สืบเนื่องจากระบอบดังกล่าวยินยอมให้อัลกออิดะห์ปฏิบัติการอยู่ในประเทศ ของตนนั่นเอง ภายหลังเวลาผ่านไป 8 ปี ความพยายามของสหรัฐฯได้หวนกลับมาอยู่ที่วัตถุประสงค์ข้อนี้อีกคำรบหนึ่ง ถึงแม้มันจะหมายถึงการเข้าไปดำเนินกิจกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลใน ปากีสถาน
ในปาฐกถาเมื่อวันอังคาร(1) โอบามาเรียกร้องปากีสถานให้ต่อสู้กับ “มะเร็งร้าย” ของลัทธิสุดโต่ง และบอกว่าสหรัฐฯจะไม่ยอมอดทนกับการที่ปากีสถานกำลังยินยอมให้ดินแดนของตน เองกลายเป็นแหล่งหลบภัยสำหรับพวกหัวรุนแรง หลังจากนั้นในระหว่างการให้ปากคำต่อรัฐสภาเกี่ยวกับแผนการใหม่ในการดำเนิน สงครามของโอบามา พวกที่ปรึกษาอาวุโสทั้งด้านการทหารและทางการทูตของเขาต่างก็เน้นย้ำว่า ปากีสถานจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในยุทธศาสตร์ใหม่นี้
มีเครื่องบ่งชี้หลายประการปรากฏออกมาแล้วว่า สงครามกำลังเคลื่อนย้ายมุ่งหน้ามายังปากีสถานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
กอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของสหรัฐฯ กล่าวในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ทั้งอุซามะห์ บิน ลาดิน ผู้นำอัลกออิดะห์ และผู้นำคนรองลงมาจากเขา ซึ่งก็คือ อัยมาน อัลซอวาฮิรี (Ayman al-Zawahiri) ยังคงหลบหนีลอยนวลอยู่ เขามีความสงสัยว่าทำไมกองกำลังความมั่นคงของปากีสถานจึงไม่ทำอะไรให้มากกว่า นี้เพื่อรวบตัวบุคคลทั้งสองให้ได้ “ยุทธศาสตร์ของพวกเราจะเข้าที่เข้าทางได้ ถ้าหากปากีสถานแสดงให้เห็นว่าสามารถเล่นงานอัลกออิดะห์” เขาบอก
ทางด้านนายกรัฐมนตรี ยูซุฟ ราซา กิลานี (Yousuf Raza Gilani) ของปากีสถานได้ตอบโต้ว่า ประเทศของเขาไม่เคยได้รับข่าวกรองอันน่าเชื่อถือใดๆ เลยว่าผู้นำอัลกออิดะห์ทั้งสองหลบซ่อนตัวอยู่ที่ไหน “ผมสงสัยว่าข้อมูลข่าวสารที่พวกคุณกำลังส่งให้เรานั้นมีความถูกต้องมากน้อย แค่ไหน เพราะผมไม่คิดหรอกว่าอุซามะห์ บิน ลาดินกำลังอยู่ในปากีสถาน” เขาบอก
ยังมีพัฒนาการอีกด้านหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันอยู่ นั่นคือมีรายงานว่าในสัปดาห์ที่แล้วทำเนียบขาวได้อนุมัติให้ขยายแผนงาน ปฏิบัติการของเครื่องบินแบบไร้นักบิน (drone) ของสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ(ซีไอเอ) จากที่เคยปฏิบัติการอยู่แค่ในพื้นที่ชาวชนเผ่าของปากีสถานที่เขตนอร์ทวาซิริ สถาน (North Waziristan) และเซาท์วาซิริสถาน(South Waziristan) ก็ให้ขยายสู่แคว้นบาโลชิสถาน (Balochistan) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ลงมาด้วย ในแคว้นดังกล่าวนี้เอง ปากีสถานก็ต้องเผชิญกับการก่อความไม่สงบในระดับที่ยังไม่ค่อยรุนแรงนักอยู่ แล้ว จากพวกกบฏชาวบาโลช ซึ่งต้องการแบ่งแยกแคว้นของตนออกมาเป็นอิสระ
การใช้เครื่องบินไร้นักบินเข้าโจมตีในพื้นที่ชาวชนเผ่าต่างๆ ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ได้สังหารสมาชิกอัลกออิดะห์และหัวหน้านักรบตอลิบานส่วนที่เป็นชาวปากีสถานไป ไม่ใช่น้อย เฉพาะปีนี้ปีเดียว การโจมตีเกือบๆ 50 ครั้งในพื้นที่ชายแดนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน ได้สังหารผู้คนไปถึง 415 คน
**แผนการใหญ่**
อาเบดีไปเยือนปากีสถานและอัฟกานิสถานเมื่อต้นปีนี้ และได้เข้าเจรจาหารือกับพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯและอังกฤษ รวมทั้ง ริชาร์ด โฮลบรูก (Richard Holbrooke) ผู้แทนพิเศษของสหรัฐฯซึ่งดูแลเรื่องปากีสถานและอัฟกานิสถาน ด้วยสมรรถนะส่วนตัวของอาเบดี ผู้ซึ่งมีสาแหรกรากเหง้าอยู่ในเมืองกันดาฮาร์ ของอัฟกานิสถาน เขาจึงรู้จักกับเหล่าผู้นำและหัวหน้านักรบระดับสูงของพวกตอลิบานจำนวนมาก
ในการให้สัมภาษณ์ทางอีเมลเป็นพิเศษเพียงรายเดียวแก่เอเชียไทมส์ออ นไลน์ อาเบดีกล่าวว่า เขาก็ได้ทราบข่าวอย่างลับๆ มาก่อนแล้วว่า โอบามาเตรียมตัวที่จะประกาศการเริ่มถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2011 ทว่าข่าวที่เขาได้มานั้นไม่ได้พูดถึงการส่งทหารเข้าไปเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เขาคิดว่ายังเป็นปัญหาใหญ่อยู่นั้น มีด้วยกัน 2 ปัญหา
ประการแรก สหรัฐฯแสดงท่าทีว่าไม่มีทางยอมรับรัฐบาลตอลิบาน (ซึ่งจะเป็นที่รู้จักของโลกนามของ รัฐเอมิเรตส์อิสลามแห่งอัฟกานิสถาน Islamic Emirate of Afghanistan) ที่นำโดย มุลลาร์ โอมาร์ (Mullah Omar) ผู้นำของตอลิบาน นั่นก็คือ ไม่มีทางเลยที่มุลลาร์ โอมาร์จะได้รับความยินยอมให้มีส่วนในรัฐบาลใหม่ใดๆ ที่จะจัดตั้งกันขึ้นมา
ประการที่สอง สหรัฐฯต้องการที่จะทำให้ตนเองสามารถกล่าวอ้างได้ว่าสร้างความปราชัยให้แก่ อัลกออิดะห์ สำหรับในปัจจุบัน สหรัฐฯเชื่อว่าตนเองประสบความสำเร็จเพียงประมาณ 70% เท่านั้น
อาเบดีกล่าวว่า “ถ้าหากพวกเขา(สหรัฐฯ)สามารถเกิดความมั่นใจขึ้นมาได้ว่า พวกตอลิบานไม่ได้กำลังจะโค่นล้มรัฐบาลชั่วคราวชุดใดๆ และก็กำลังจะยินยอมให้สิ่งที่เรียกกันว่าประชาคมระหว่างประเทศ ถอนตัวออกไปโดยทิ้งรัฐบาลชั่วคราวที่มีความมั่นคงพอสมควรเอาไว้เบื้องหลัง โดยที่รัฐบาลดังกล่าวนี้สามารถปฏิบัติหน้าที่ไปอย่างน้อย 18 เดือนถึง 2 ปี และปกครองตามหลักของอิสลามตลอดจนสิ่งที่เรียกกันว่าหลักการค่านิยมทางสากล ก็มีความเป็นไปได้อย่างมากที่สหรัฐฯจะทำตามสิ่งที่พวกเขากำลังพูดกันอยู่ ซึ่งก็คือการถอนตัวออกไปจากอัฟกานิสถานอย่างรวดเร็ว กระทั่งอาจจะเร็วกว่า 18 เดือนด้วยซ้ำ”
อาเบดีเสนอแนะว่า “ถ้าหากคณะรัฐบาลโอบามาสามารถที่จะดำเนินการด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม ทำให้มีกำลังทหารและตำรวจชาวอัฟกันในจำนวนที่สมควรจะต้องมี เพื่อที่สหรัฐฯจะได้ส่งมอบหน้าที่ด้านการดูแลความมั่นคงปลอดภัยให้แก่กอง กำลังเหล่านี้ แล้วจากนั้นหลังจากผ่านช่วง 18 เดือนไปแล้ว (ประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน ฮามิด) คาร์ไซก็จัดการเรียกประชุมมหาสภาของชนเผ่า (โลยา จิระกา loya jirga) และดำเนินการส่งมอบอำนาจทางการเมืองไปให้แก่บุคคลจำนวนหนึ่ง (รัฐบาลชั่วคราว) ผู้เป็นที่ยอมรับของทุกๆ ฝ่ายในความขัดแย้งนี้ อย่างน้อยก็เป็นที่ยอมรับในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่นนี้ก็จะเป็นการสร้างโอกาสให้พวกผู้ยึดครองสามารถถอนตัวออกไปได้ ... พี่เฮกมัตยาร์ และ มุลลาห์ โอมาร์ มุญาฮิด ทั้งคู่ต่างก็พูดออกมาแล้วว่าพวกเขาจะไม่โจมตีกองทหารต่างชาติที่กำลังอยู่ บนเส้นทางถอนตัว หากว่ากองกำลังเหล่านี้ยอมถอยออกจากประเทศอัฟกานิสถานไปในทันที
“อีกฝ่ายหนึ่ง (รัฐบาลคาร์ไซ) จะไม่เป็นที่กังวลห่วงใยของสหรัฐฯหรอก สหรัฐฯสามารถที่จะตบหน้าพวกเขาและบอกให้หุบปาก แล้วทำตามสิ่งที่พวกเขาถูกบอกให้ทำ ... มันก็เหมือนกับเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากสิ่งที่เรียกกันว่าการเลือกตั้ง (ประธานาธิบดีอัฟกานิสถานในเดือนสิงหาคม) เมื่อพวกเขา(สหรัฐฯ)บอกกับ (คู่แข่งขังที่จะลงชิงชัยรอบสองกับคาร์ไซ ซึ่งก็คือ อับดุลเลาะห์) อับดุลเลาะห์ ให้ถอยฉากออกมาและอยู่เงียบๆ ซึ่งเขาก็ทำตามอย่างยินดี ...”
นอกเหนือจากโฮลบรูกแล้ว อาเบดียังเคยสนทนากับพวกเจ้าหน้าที่อาวุโสคนอื่นๆ ของสหรัฐฯด้วย โดยที่เขาเข้าหารือในนามของเฮกมัตยา เขาพูดกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ต่อไปว่า “เราทราบมาว่าเดือนกรกฎาคม 2011 คือวันเวลาเริ่มต้นการถอนทหาร ทว่ายังไม่มีกำหนดแน่นอนว่าจะถอนกันเสร็จสิ้นเมื่อใด แล้วยังอาจจะมีการโต้แย้งขึ้นมาอีกเมื่อถึงเวลานั้นว่า สถานการณ์ในภาคสนามไม่เปิดทางให้กองทหารของสหรัฐฯและนาโต้ถอนตัวออกจาก อัฟกานิสถานได้ ... คุณคิดว่าถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ สหรัฐฯและพันธมิตรของพวกเขาจะทำอะไรกันต่อไป? พวกเขาจะเพิ่มกำลังทหารครั้งใหญ่กันอีกครั้งไหม? หรือจะใช้ระเบิดปรมาณู? หรือจะใช้วิธีอื่นๆ ?”
อาเบดีมีความคิดเห็นว่า สำหรับสหรัฐฯแล้วการพ่ายแพ้หรือการได้ชัยชนะในสงครามในอัฟกานิสถาน ไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอะไรอีกแล้ว การต่อสู้ที่แท้จริงของสหรัฐฯอยู่ที่การปราบปรามอัลกออิดะห์ต่างหาก ดังนั้นในขั้นตอนต่อไปของสงครามนี้ การต่อสู้ที่แท้จริงจะเป็นการปราบปรามเล่นงานอัลกออิดะห์
“ผมคิดว่าสหรัฐฯนั้นทราบดีว่าพวกเขากำลังพ่ายแพ้สงครามในอัฟกานิสถาน แต่พวกเขายังไม่เสร็จสิ้นงานที่จะต้องทำในพื้นที่ชาวชนเผ่าใกล้ๆ กับเส้นดูแรนด์ (Durand Line คือเส้นเขตแดนที่แยกปากีสถานและอัฟกานิสถาน) คุณไม่คิดหรือว่าสหรัฐฯอาจจะใช้ทหารใหม่ๆ ที่ยังสดชื่น 30,000 คนนี้ เป็นเสมือนกำแพงขวางกั้นไม่ให้พวกสมาชิกอัลกออิดะห์ข้ามเข้ามาในอัฟกานิสถาน ในเวลาเดียวกันนั้น พวกเขา(สหรัฐฯ) และกองทัพปากีสถาน ก็จะเข้าโจมตีจากทุกๆ ด้าน ต่อบรรดาพื้นที่ที่ผมพูดเอาไว้ข้างต้น เพื่อเป็นการรุกกระหน่ำครั้งสุดท้าย เพื่อมุ่งสร้างความเสียหายครั้งสุดท้ายและครั้งที่หนักหน่วงที่สุดต่ออัลกอ อิดะห์ จากนั้นก็อวดอ้างว่าได้ชัยชนะแล้ว และเริ่มต้นค่อยๆ ถอนตัวออกไป ซึ่งจะทำให้พวกเขายังคงรักษาหน้าเอาไว้ได้
“คุณไม่คิดหรือว่า นี่แหละคือเหตุผลที่ทำไมพวกเขาจึงกำลังบีบคั้น (ประธานาธิบดีปากีสถาน อาซิฟ อาลี) ซาร์ดารี ให้ต้องยอมทำความตกลงกับฝ่ายทหาร(ปากีสถาน)โดยตรง เพื่อที่ฝ่ายทหารจะได้ยินดีไปเพิ่มแรงกดดันอย่างหนักหน่วงต่อสิ่งที่เรียก กันว่า พวกตอลิบานที่เป็นชาวปากีสถาน ให้ยอมปล่อยอัลกออิดะห์ออกไปจากอ้อมอกของพวกเขา แล้วนั่นก็จะทำให้สหรัฐฯสามารถไล่ล่ากำจัดคนเหล่านี้ (อัลกออิดะห์) ได้” อาเบดีชี้
อาเบดีบอกว่า สำหรับสหรัฐฯแล้ว เป็นหนทางที่เหมาะสมอย่างที่สุดที่กำหนดทิศทางของสงครามให้พุ่งเป้าไปยังพวก อัลกออิดะห์เท่านั้น จะได้สามารถทำข้อตกลงกับชาวอัฟกันกลุ่มอื่นๆ ได้ อาเบดีมั่นใจว่าสหรัฐฯคงจะไม่ประคับประคองให้สงครามยืดเยื้อออกไป เนื่องจากพวกเขากำลังตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้เสียเปรียบอยู่แล้ว (แม้กระทั่งโอบามาก็ยังยอมรับเอาไว้ในการแสดงปาฐกถาเมื่อวันอังคารว่า พื้นที่จำนวนมากของอัฟกานิสถานกำลังตกอยู่ใต้การควบคุมของตอลิบาน)
สำหรับอาเบดีแล้ว ข้อเสนอที่วางกรอบระยะเวลาเอาไว้ 24 เดือน –นั่นคือ ใช้เวลา 18 เดือน ในการถอนทหารออกไป และอีก 6 เดือนสำหรับการจัดตั้งคณะรัฐบาลชั่วคราว –เป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับอัฟกานิสถาน เนื่องจากมันให้โอกาสแก่ทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็น หัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถติดต่อกับเขาได้ที่ saleem_shahzad2002@yahoo.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น